วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553


ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ี จำเป็น ต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลก เปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศเข้ามา เที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะ เชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5



ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นศูนย์รวมในการค้าขาย พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลจากเรือกสวนไร่นาของ เกษตรกรในย่านนั้น แต่ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นกึ่งตลาดบกตลาดน้ำ คือ มีของขายทั้งบนบกและในเรือ มา เที่ยวที่ตลาดนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะร้อน เพราะมีทางเดินที่มีหลังคาตลอดสองฝั่งของตลาด จึงทำให้เดินเที่ยวชม ตลาดได้ อย่างสบาย ๆ คลองนี้เป็นคลองที่คนใน จ. ราชบุรี จ.สมุทรสาคร และ จ.สมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กัน มีความหมาย ตรงกับชื่อ “ดำเนินสะดวก” คือ การเดินทางสะดวก แม้ทุกวันนี้ จุดประสงค์เริ่มแรกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมี พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยว เดินทางไปอย่างล้นหลาม ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก จึงเปรียบเสมือน เป็นที่นัดของเรือร้อยๆลำเพื่อชุมนุมขายสินค้าการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองตลอดจนร้านขายของ ที่รับจากโรงงานในกรุงเทพหรือจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้วคลองที่เต็มไป ด้วยสินค้าทุกชนิดที่เขาตื่นตาตื่นราคาเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ ี่ีเดียวตลาดน้ำจะเริ่มคึกคัก ตั้งแต่ 6.00 น.ไป จน ถึงประมาณ 11.00 น. นอกจากเขาจะได้ชมตลาดน้ำแล้วชีวิตสองฝั่ง คลองของชาวไทยชนบทยังเป็นภาพที่ น่ามองอย่างมากสลับกับเรือกสวนและไร่นาของชาวบ้านส่วนใหญ่ของพื้นที่ ี่แถบนี้ต่างจากภาพที่เขาคุ้นตาตาม เมืองใหญ่ๆ ไปลิบลับ



กิจกรรมเมื่อมาเที่ยวตลาดน้ำดำเนิน

1. เดินชมตลาดน้ำ เลือกซื้อ เลือกชิม อาหารและสิ้นค้าต่างที่พ่อค้าแม่ค้า พายเรือมาขาย
หากเดินบนบกก็จะได้ชมสินค้าอย่างหนึ่ง จะได้เลือกซื้อสินค้าในคลองได้ง่ายขึ้น สินค้าที่นำมาขายส่วนมากจะ เป็นผลไม้ เช่น กล้วย ส้มโอ ชมพู่ ลำไย มะม่วง ฯลฯ สนนราคาก็ไม่แพง เพราะมาจากชาวสวนโดยตรง ของกินมี ก๋วยเตี๋ยวเรือ ซึ่งมีให้เลือกหลายเจ้า นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองจำหน่ายด้วย เช่น ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าไหม หมวกงอบใบลาน เป็นต้น และยังจะได้ชมเรือกนาไร่สวนของชาวบ้านแถบนี้อีกด้วย





2.นั่งเรือชมบรรยากาศ หรือจะเลือกชิมอาหารกันบนเรือ
นอกจากเดินเที่ยวชมกันบนบกแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถนั่งเรือชมตลาดน้ำได้ สามารถติดต่อเรือได้ตลอด สองฝั่งทางเข้าตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งที่ท่าเรือจะมีบริการที่จอดรถให้พร้อม ราคาเรือเหมาลำละ 600 บาท นั่งได้ 6-8 คน ใช้เวลา ประมาณ 45 นาที



ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
- เปิดทุกวัน เวลา 07.00-12.00 น.
- เรือพาย 400 บาท/8 คน
- เรือหางยาว 600บาท/8 คน
- ค่าจอดรถ 20 บาท/คัน (ที่เอกชน)


เรื่องราวและบทความเกี่ยวข้อง


การเดินทางไปตลาดน้ำดำเนิน
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลย กิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนะรัชต์เลยไป 200 เมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร - เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 325 ผ่านตัวเมือง สมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้า ตลาดน้ำอยู่ก่อนถึง สะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร

2. โดยรถสาธารณะ
มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรก ออกตั้งแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ลงรถบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ จากนั้น สามารถ โดยสารรถสองแถวบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ เข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก
1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ (ห้องจำหน่ายตั๋วดำเนินสะดวก) โทร. 0-2435-5031 (ห้องจำหน่ายตั๋วราชบุรี) โทร. 0-2435-5036 นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่น ได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ี(สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถว ซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออก ทุก 10 นาที

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปินโต

บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง“Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่าใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิวในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหารวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (..1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ..1548 (..2091) ปินโต กล่าวว่า ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค..1538 (..2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ดอยตุง พระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง



ดอยตุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นของเชียงราย อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอแม่สาย แต่เดิมเป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร จนกระทั่งสมเด็จย่าได้เสด็จมายังดอยตุงและทรงมีพระราชดำรัสว่า ฉันจะปลูกป่าดอยตุง หลังกนั้นใปี 2530 รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นโดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนนดอยตุงแล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่งๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ



แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้นดอยตุงจะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัดนั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้างพระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลายๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นจากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวดอยตุงเป็นจำนวนมาก แหล่งท่องเที่ยวบนดอยตุงที่นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมได้แก่ สวนแม่ฟ้าหลวง พระตำหนักดอยตุง พระธาตุดอยตุง สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงดอยช้างมูบ ไร่แม่ฟ้าหลวง หรือสวนดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวบนพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ในแอ่งที่ราบด้านทิศเหนือของพระตำหนัก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี กลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว งานประติมากรรมนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า " ความต่อเนื่อง " นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่ม จุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่างๆ ที่มีดอกสวยงามมาก ความภาพความสวยงามของสวนแม่ฟ้าหลวง